https://giftsforhealth.blogspot.com/google.com,%20pub-3791389710662192,%20DIRECT,%20f08c47fec0942fa0 สาเหตุอาการปวดประจำเดือน+วิธีบรรเทาอาการ

เล่าสู่กันฟัง! @การบำรุงดวงตา..ก่อนที่จะสายเกินไป !

เมื่อก่อนเรียนหนัก พอได้ทำงานในออฟฟิต ก็ต้องใช้สายตามาก มาตลอดอายุราชการ 30 ปี ไม่เคยคิดที่จะสนใจการบำรุงรักษาเลย  จนกระท...

สาเหตุอาการปวดประจำเดือน+วิธีบรรเทาอาการ

อาการปวดประจำเดือน (Menstrual Cramps) 

คืออะไร ?

สำหรับบางคน การเกิดอาการปวดประจำเดือนอาจเป็นสิ่งที่ทำให้เจ็บปวดอย่างมากในรอบเดือนนั้น ๆ แต่สามารถรักษาอาการปวดเกร็งต่าง ๆ นี้ได้
โดยอาการปวดประจำเดือนมีชื่อเรียกในทางการแพทย์ว่า Dysmenorrhea ซึ่งเป็นกลุ่มอาการปวดเกร็งหรือปวดเกร็งที่บริเวณท้องน้อย ซึ่งเกิดขึ้นมาก่อนที่จะเป็นประจำเดือนหรือในช่วงระหว่างการเป็นประจำเดือน ความรุนแรงของอาการดังกล่าวสามารถเริ่มต้นจากระดับอ่อน ๆ ไปจนถึงระดับที่ไม่สามารถต้านทานได้ ซึ่งรวมไปถึงอาการปวดท้องน้อย ความรู้สึกไม่สบายตัว ไม่สบายใจ โดยอาการปวดที่รุนแรงนั้นจะให้ความรู้สึกเหมือนกับเรายกของที่มีน้ำหนักมาก และอาการปวดประจำเดือนอาจจะมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น อาการคลื่นไส้ อาเจียน และอาการท้องเสีย

จำนวนผู้หญิงมากกว่าครึ่งหนึ่งของคนที่เป็นประจำเดือนจะมีอาการปวดเกร็งอยู่ประมาณ 1-2 วันของแต่ละเดือน และอีก 15% ของผู้หญิงเหล่านั้นจะมีอาการปวดประจำเดือนที่รุนแรง แต่มีอีกหลายวิธีที่สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดเหล่านี้ให้หายไปได้

สาเหตุของอาการปวดประจำเดือน ?

อาการปวดประจำเดือนเป็นอาการที่เกิดจากการหดรัดตัวหรือการเกร็งของกล้ามเนื้อมดลูกที่นำไปเลี้ยงยังส่วนต่างๆบริเวณรอบ ๆ เยื่อบุมดลูก และเมื่อเยื่อบุมดลูกหลุดลอกและไหลออกมาในแต่ละเดือนนั้น จะทำให้สารที่คล้ายกับฮอร์โมนที่มีชื่อว่า "โปรสตาแกรนดิน" ถูกหลั่งออกมาและทำให้เกิดอาการปวดหรืออาการอักเสบ โดยนอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มความรุนแรงของการหดรัดตัวได้ถ้าหากการหลั่งสารชนิดนี้มีปริมาณที่สูงขึ้น
สำหรับผู้หญิงที่มีการหลั่งของสารโปรสตาแกรนดินสูง จะทำให้เกิดอาการปวดประจำเดือนที่ค่อนข้างรุนแรงกว่าคนปกติ และเมื่อเยื่อบุมดลูกหลุดลอกออกมา อาการหดรัดตัวจะค่อย ๆ ผลักเนื้อเยื่อเก่าผ่านทางปากมดลูกและขับออกไปยังช่องคลอด แต่ถ้าขนาดของปากมดลูกแคบเกินไป จะทำให้เกิดอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรงได้ โดยเฉพาะเมื่อลิ่มเลือดหรือเนื้อเยื่อที่หลุดออกมาผ่านปากมดลูก ซึ่งอาการปวดประจำเดือนจะเริ่มต้นก่อนการมีประจำเดือนและขึ้นสู่จุดสูงสุดภายใน 24 ชม. ผู้หญิงเริ่มมีอาการดีขึ้นใน 1-2 วัน แต่ในผู้หญิงบางคนอาจจะมีอาการเกร็งท้องน้อยตลอดช่วงของการมีประจำเดือนเลยก็ได้

ใครมีอาการปวดประจำเดือนได้บ้าง ?

อาการปวดประจำเดือนอย่างรุนแรงสามารถพบได้บ่อยที่สุดในช่วงวัยรุ่นเริ่มตั้งแต่ 1-2 ปีหลังจากเด็กมีประจำเดือนเป็นครั้งแรก ซึ่งอาการปวดประจำเดือนจะขึ้นหรือทุเลาลงเมื่อผู้หญิงมีอายุมากขึ้น นอกจากนี้ผู้หญิงที่เคยมีลูกมาแล้วจะมีโอกาสเกิดอาการปวดประจำเดือนน้อยกว่าคนปกติเพราะการคลอดลูกจะช่วยทำให้มดลูกขยายตัว
ถึงแม้ว่าผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีความรู้สึกไม่สบายเนื้อไม่สบายตัวระหว่างการมีประจำเดือนอยู่บ้าง ซึ่งในบางอาการปวดนั้นอาจจะรุนแรงและส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันได้ เนื่องจากอาการปวดประจำเดือนอย่างรุนแรงที่เกิดจากการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูกและการหลั่งสารโปรสแกรนดิน ซึ่งหลั่งในช่วงการมีประจำเดือนคืออาการปวดประจำเดือนขั้นปฐมภูมิ (Primary Dysmenorrhea) แต่หากอาการปวดประจำเดือนที่เกิดจากโรคหรือปัญหาทางการแพทย์ชนิดอื่น ๆ จะเรียกว่าอาการปวดประจำเดือนขั้นทุติยภูมิ (Secondary Dysmenorrhea)
สภาวะที่สามารถทำให้เกิดการปวดประจำเดือนชนิดทุติยภูมิมีดังนี้
  • Endometriosis สภาวะที่เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ 
  • Fribroids เนื้องอกในมดลูก เนื้องอกเหล่านี้ไม่เป็นเนื้อร้ายจึงไม่ก่อให้เกิดเซลล์มะเร็งในมดลูก
  • การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน
อาการปวดท้องประจำเดือน บางคนอาจจะมีอาการปวดเพียงเล็กน้อยพอให้รู้สึกรำคาญ แต่บางคนก็อาจจะมีอาการปวดอย่างรุนแรง ซึ่งสร้างความเจ็บปวดให้กับผู้หญิงได้มาก แต่รู้ไหมว่าอาการปวดท้องประจำเดือนนั้นไม่ได้ธรรมดาอย่างที่คิด เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงโรคร้ายที่กำลังแอบแฝงอยู่ก็ได้ เพราะฉะนั้นเรามาทำความเข้าใจกับอาการปวดท้องประจำเดือนกันก่อนดีกว่า

สาเหตุของอาการปวดท้องประจำเดือน

อาการปวดท้องประจำเดือนเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน ซึ่งก็มีทั้งสาเหตุที่ไม่เป็นอันตรายและสาเหตุที่เป็นอันตราย ดังนั้น เมื่อมีอาการปวดท้องในวันที่ประจำเดือนมาจึงไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะนั่นอาจเป็นเพราะสาเหตุของปัญหาสุขภาพดังต่อไปนี้

1. มดลูกหดตัวแรงกว่าปกติ

สารโปรสตาแกรนดินทำให้มดลูกหดตัว ก่อให้เกิดอาการปวดท้องเบาๆ แต่ถ้าหากสารนี้มีปริมาณมากกว่าปกติก็จะก่อให้เกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรง และในบางรายก็อาจจะมีไข้ที่เรียกกันว่าไข้ทับระดู แต่ทั้งนี้อาการปวดท้องประจำเดือนจากกรณีนี้จะไม่เป็นอันตรายมากนัก เพียงแต่หากมีไข้สูงก็ควรรับประทานยาลดไข้และดูแลตนเองให้มากขึ้นเท่านั้น

2. มีโรคร้ายแอบแฝง

อาการปวดท้องประจำเดือน บางครั้งก็ไม่ใช่อาการปวดแบบธรรมดา แต่อาจเป็นอาการข้างเคียงจากภาวะแอบแฝง จำพวกโรคร้ายแรงต่าง ๆ เช่น ช็อกโกแลตชีส มะเร็งรังไข่ หรือการติดเชื้อต่าง ๆ ในช่องคลอด ซึ่งภาวะเหล่านี้จะส่งผลให้เกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรงมาก และอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ตกขาวมีกลิ่นเหม็น เลือดประจำเดือนมีสีแปลกไปจากปกติ และมีอาการคัน เป็นต้น โดยหากมีอาการแบบนี้ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน เพื่อการวินิจฉัยและรักษาได้ทันเวลา

อาการปวดท้องประจำเดือน

อาการปวดท้องประจำเดือนจะแบ่งออกเป็น 2 ระดับด้วยกัน เนื่องจากอาการปวดท้องในขณะมีรอบเดือนนั้นจะเกิดขึ้นได้จากสองสาเหตุหลัก ๆ คือการหดตัวของมดลูกแรงเกินไปและภาวะแอบแฝงจากโรคร้าย ซึ่งมีอาการดังนี้

1. ปวดท้องประจำเดือนจากการหดตัวของมดลูก

  • ปวดบริเวณท้องน้อย แต่อาการปวดจะไม่รุนแรงมากนัก และอาจมีอาการปวดร้าวไปบริเวณหลังร่วมด้วย
  • รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า โดยเฉพาะคนที่ประจำเดือนมามาก
  • มีอาการคลื่นไส้อาเจียน

2. ปวดท้องประจำเดือนจากภาวะแอบแฝง

  • ปวดท้องน้อยอย่างรุนแรง บางคนอาจมีอาการปวดจนถึงขั้นลุกเดินแทบไม่ไหวเลยก็มี
  • มีไข้ ซึ่งอาจเป็นภาวะไข้ทับระดูได้
  • ปวดศีรษะอย่างรุนแรง และมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย
  • มีอาการคันบริเวณปากช่องคลอด ซึ่งอาจเป็นเพราะการติดเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ
  • เลือดประจำเดือนเป็นสีแดงสด

การวินิจฉัยโรค

มีประวัติการปวดท้องโดยมีลักษณะ ตำแหน่ง ความรุนแรง ระยะเวลาของการปวด มีความสัมพันธ์กับประจำเดือน ตรวจภายใน และตรวจ Bimanual examination ตรวจเลือดเพื่อดูจำนวนเม็ดเลือด (Complete blood count; CBC), Hct, ตรวจปัสสาวะและอุจจาระ ตรวจการตั้งครรภ์ อัลตราซาวนด์ และส่องกล้องทางหน้าท้องเพื่อวินิจฉัยแยกโรค

ทางเลือกในการรักษาสำหรับอาการปวดประจำเดือน

ยาที่ไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ ยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช้สเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น Advil หรือ Motrin (Ibuprofen) และ Aleve (Naproxen) ที่มักจะใช้ได้ผลในการบรรเทาอาการปวดประจำเดือน เพราะว่ายาเหล่านี้สามารถยับยั้งการสร้างสารโปรสตาแกรนดินซึ่งเคล็ดลับก็คือการรับประทานยาแก้ปวดเมื่อเริ่มมีอาการปวดหรือก่อนการมีอาการปวด
ยาที่จ่ายตามใบสั่งแพทย์ หากยาชนิด NSAIDs ที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไปนั้นไม่สามารถทำให้หายได้ แพทย์จะจ่ายยาบรรเทาอาการปวดที่แรงขึ้นกว่าเดิม โดยยาระงับอาการปวด ได้แก่ Acetaminophen ผสม Hydrocodone (Vicodin, Norco) เป็นทางเลือกสำหรับผู้หญิงที่มีอาการปวดประจำเดือนชนิดรุนแรงมาก ๆ
ยาคุมกำเนิด คือฮอร์โมนคุมกำเนิด เช่น ยาคุมกำเนิด แผ่นแปะ และวงแหวนสอดช่องคลอด สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือนชนิดที่มีความรุนแรง ใช้เพื่อหยุดการตกไข่ หากคุณไม่มีอาการตกไข่ โอกาสที่จะมีอาการปวดประจำเดือนก็จะน้อยลง เพราะฮอร์โมนคุมกำเนิดจะหยุดหรือชะลอการเกิดเนื้องอกในมดลูกและสภาวะที่เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
การผ่าตัด ถ้าเนื้องอกในมดลูกและสภาวะที่เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่เป็นสาเหตุที่ทำให้คุณเกิดอาการปวด คุณอาจจะพิจารณาการผ่าตัด เช่น การผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวชหรือวิธีรังสีร่วมรักษา (การฉีดสารเข้าไปในเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงเนื้องอก ทำให้ก้อนเนื้องอกขาดเลือด ก้อนจึงเหี่ยวยุบลง) เพื่อตัดเนื้องอกที่ไม่จำเป็นออก หรือการตัดมดลูก วิธีนี้จะตัดมดลูกออกทั้งหมด และใช้เป็นวิธีรักษาแนวทางสุดท้ายสำหรับอาการปวดและสำหรับผู้หญิงที่ไม่ต้องการมีลูก

วิธีบรรเทาอาการปวดประจำเดือนอย่างได้ผล

เมื่อมีอาการปวดท้องประจำเดือน ไม่ว่าจะปวดมากหรือปวดน้อย ก็มักจะสร้างความเจ็บปวดทรมานให้กับผู้หญิงเป็นอย่างมาก แต่ครั้นจะรอให้อาการปวดหายไปพร้อมกับวันหมดประจำเดือนก็คงจะไม่ค่อยโอเคสักเท่าไร เพราะฉะนั้นเรามาบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือนด้วยเคล็ดลับเหล่านี้กันดีกว่า
 

1. ประคบด้วยกระเป๋าน้ำร้อน

ความร้อนมีคุณสมบัติในการทำให้กล้ามเนื้อที่ตึงผ่อนคลายลง ซึ่งจะส่งผลให้อาการปวดบรรเทาลง ดังนั้นแนะนำให้นำกระเป๋าน้ำร้อนมาประคบที่หน้าท้องเมื่อมีอาการปวด ประคบไปเรื่อย ๆ จะทำให้อาการปวดค่อย ๆ ทุเลาลง อาจไม่หายสนิทแต่ก็ดีขึ้นไม่น้อย ซึ่งในปัจจุบันการใช้กระเป๋าน้ำร้อนไม่ได้ยุ่งยากเหมือนในสมัยก่อนอีกต่อไป เพราะมีกระเป๋าน้ำร้อนไฟฟ้า แค่เพียงเสียบปลั๊กชาร์จไม่ถึง 5 นาทีก็สามารถนำมาใช้ได้เลย และยังหาซื้อได้ง่ายอีกด้วย

2. ออกกำลังกายเบา ๆ

ในช่วงมีประจำเดือน หลายคนอาจเข้าใจว่าไม่ควรออกกำลังกาย แต่ความจริงแล้วการออกกำลังกายก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยอาจเลือกการออกกำลังกายเบา ๆ เช่น เดิน เล่นโยคะ เป็นต้น ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้เท่านั้น แต่ยังทำให้สุขภาพดี แข็งแรงตลอดรอบเดือน แต่แนะนำว่าควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหรือกิจกรรมหนัก ๆ เพราะช่วงมีประจำเดือน ผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีอาการอ่อนเพลีย จึงเสี่ยงต่อการเป็นลมได้

3. ดื่มน้ำอุ่นมาก ๆ

การดื่มน้ำมาก ๆ ในขณะมีประจำเดือน จะช่วยบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือนได้อย่างดีเยี่ยม และเป็นวิธีที่เบสิกที่สุด เพราะเมื่อร่างกายได้รับน้ำอย่างเพียงพอ จะส่งผลให้ตับทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และสามารถควบคุมปริมาณของฮอร์โมนเอสโตรเจนให้อยู่ในระดับปกติได้ จึงทำให้อาการปวดท้องทุเลาลง แต่จะต้องดื่มน้ำอุ่นหรือน้ำอุณหภูมิห้องปกติเท่านั้น เพราะหากดื่มน้ำเย็นอาจส่งผลให้เลือดจับตัวกันเป็นลิ่มก้อนและขับออกมายาก ทั้งยังทำให้อาการปวดรุนแรงหนักขึ้นก็เป็นได้

4. รับประทานยาแก้ปวด

สำหรับวิธีนี้ไม่ค่อยแนะนำให้ใช้มากนัก เพราะการรับประทานยาแก้ปวดอาจส่งผลข้างเคียงต่อร่างกายในด้านอื่น ๆ ได้ ดังนั้นหากคิดจะรับประทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือน ควรเลือกรับประทานมื่อมีอาการปวดอย่างรุนแรงจริง ๆ เท่านั้น แต่ถ้าให้ดีควรปรึกษาแพทย์ก่อนจะดีที่สุด

5. นอนตะแคง

การนอนตะแคงจะสามารถบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือนได้ ส่วนจะตะแคงไปข้างไหนดีนั้นก็ขึ้นอยู่กับระดับมดลูกของแต่ละคนด้วย ดังนั้นหากมีอาการปวดท้องประจำเดือน แนะนำให้ลองนอนตะแคงไปด้านใดด้านหนึ่งดู เพื่อทดสอบว่านอนตะแคงด้านไหนแล้วทำให้อาการปวดท้องบรรเทาลง

อาหารช่วยบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือน

นอกจากเคล็ดลับบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือนข้างต้นแล้ว อาหารก็มีส่วนช่วยในการบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือนได้เช่นกัน  ทั้งนี้ก็เพราะอาหารบางชนิดอุดมไปด้วยวิตามิน เกลือแร่ และสารอาหารที่มีคุณสมบัติช่วยยับยั้งและบรรเทาอาการปวดได้ รวมถึงช่วยผ่อนคลายความตึงของกล้ามเนื้อ จึงทำให้อาการปวดลดน้อยลง ซึ่งอาหารที่สามารถช่วยให้อาการปวดท้องประจำเดือนดีขึ้นได้มีดังนี้

1. ใบตำลึง

ตำลึง พืชสมุนไพรที่เชื่อว่าสามารถแก้เบาหวานได้ และยังมีประโยชน์และสรรพคุณอีกมากมาย ซึ่งใบตำลึงก็ได้รับความนิยมในการนำมารับประทานเพื่อบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือนเช่นกัน เนื่องจากตำลึงอุดมไปด้วยแมกนีเซียม ซึ่งสามารถช่วยลดอาการปวดเกร็งในช่องท้องได้เป็นอย่างดี โดยสามารถรับประทานใบตำลึงได้ทั้งแบบสด ๆ หรือแบบลวกก็ได้

2. ตังกุย

ตังกุยมีสรรพคุณในการช่วยขยายหลอดเลือด จึงไม่ทำให้หลอดเลือดมีการบีบตัวและกล้ามเนื้อมดลูกหดเกร็งมากเกินไป แต่ทั้งนี้การรับประทานตังกุยเพื่อบรรเทาอาการปวดประจำเดือนนั้น ควรรับประทานก่อนมีประจำเดือนประมาณ 1-2 สัปดาห์จะดีที่สุด และควรรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ เพราะตังกุยอาจส่งผลให้ผิวบางขึ้นจนมีความไวต่อแสงแดดได้ นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีผลิตภัณฑ์ตังกุยในรูปแบบของชาชงดื่ม ซึ่งก็จะรับประทานง่ายไปอีกแบบ แต่อย่าลืมอ่านคำแนะนำให้ครบถ้วนก่อนดื่มด้วย

3. น้ำเต้าหู้

ในน้ำเต้าหู้นั้นมีฮอร์โมนเพศหญิงชนิดหนึ่งที่สามารถบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือนได้ โดยฮอร์โมนตัวนี้จะออกฤทธิ์เป็น anti-estrogen ซึ่งจะลดการเกิดอาการปวดท้องประจำเดือนได้เป็นอย่างดี แต่ทั้งนี้ควรรับประทานก่อนประจำเดือนมาประมาณ 1 สัปดาห์เพื่อให้เกิดผลดีที่สุด นอกจากนี้หากใครไม่ชอบดื่มน้ำเต้าหู้ ก็สามารถเลือกผลิตภัณฑ์นมถั่วเหลือง เต้าหู้ หรือซุปเต้าเจี้ยวแทนได้เช่นกัน

4. ปลาทะเลน้ำลึก

ปลาทะเลน้ำลึกเป็นปลาที่อุดมไปด้วยกรด EPA และ DHA ซึ่งจะช่วยลดอาการปวดเกร็งในช่องท้องได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นอย่างมาก โดยปลาที่แนะนำให้รับประทานมากที่สุด ได้แก่ ปลาทูน่า ปลาแมคเคอเรล ปลาแฮร์ริ่ง และปลาแซลมอน เป็นต้น

5. ผักผลไม้

ผักผลไม้ที่มีกากใยสูงมีส่วนช่วยลดอาการปวดท้องประจำเดือนได้ เนื่องจากกากใยในผักผลไม้นั้นจะทำหน้าที่ในการดักจับฮอร์โมนเอสโตรเจนส่วนเกินและกำจัดทิ้ง จึงไม่ทำให้มดลูกหดตัวมากเกินไป นอกจากนี้แล้ว ควรเลือกรับประทานผักผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง เพราะจะช่วยบรรเทาอาการปวดเกร็งท้องได้ดีอีกด้วย

อาหารต้องห้ามเมื่อปวดท้องประจำเดือน

นอกจากการรับประทานอาหารบางชนิดเพื่อช่วยให้อาการปวดท้องประจำเดือนดีขึ้นได้แล้ว อาหารบางชนิดก็มีส่วนกระตุ้นให้อาการปวดท้องประจำเดือนรุนแรงมากกว่าเดิมได้เช่นกัน ได้แก่

1. เนื้อสัตว์ติดมัน

เนื่องจากไขมัน เป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดอาการปวดท้องประจำเดือน จึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ติดมันมากที่สุด เพราะอาจทำให้อาการรุนแรงมากกว่าเดิมได้ ถ้าให้ดีช่วงนี้ควรเลือกรับประทานเนื้อปลาเป็นหลัก หรือหมูเนื้อแดงก็ได้

2. อาหารแปรรูป

อาหารแปรรูปจำพวกไส้กรอก ขนม เบเกอร์รี่ต่าง ๆ ล้วนมีโซเดียมสูง จึงอาจก่อให้เกิดอาการท้องอืดและปวดท้องประจำเดือนมากกว่าเดิมได้ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงอาหารแปรรูปเหล่านี้ และหันมารับประทานอาหารที่ปรุงสุกสดใหม่จะดีกว่า

3. คาเฟอีน

คาเฟอีนเป็นสารที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวดมากขึ้น และยังทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ ดังนั้นช่วงมีประจำเดือนจึงควรงดเครื่องดื่มคาเฟอีนทุกชนิด หรือหากจำเป็นก็ควรดื่มในปริมาณที่น้อยที่สุดหรือเจือจางมากที่สุด

4. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ไม่อยากให้อาการปวดท้องประจำเดือนรุนแรงมากกว่าเดิม ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างเด็ดขาด เพราะแอลกอฮอล์จะทำให้ความเข้มข้นของเลือดลดต่ำลง และเลือดสูบฉีดเร็วขึ้นกว่าปกติ ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดอาการปวดท้องแล้ว ยังส่งผลให้รู้สึกอึดอัด ไม่สบายตัว และเกิดอาการอ่อนเพลีย

5. ของหวาน

นอกจากของมันแล้ว ของหวานก็เป็นอีกเมนูหนึ่งที่ควรหลีกเลี่ยงเช่นกัน ถึงแม้ว่าช่วงมีประจำเดือนคุณจะรู้สึกอยากรับประทานของหวานมากแค่ไหนก็ตาม เพราะน้ำตาลจะทำให้อาการปวดท้องแย่ลงกว่าเดิม แต่หากคุณรู้สึกอยากรับประทานของหวานจริง ๆ แนะนำให้เลือกผลไม้จะดีที่สุด นอกจากจะไม่ทำให้อาการรุนแรงขึ้นแล้ว ยังมีประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย

6. ไอศกรีม

หลายคนคงจะเคยได้ยินมาบ้างแล้วว่า เมื่อมีอาการปวดท้องประจำเดือนนั้นไม่ควรรับประทานไอศกรีม เพราะว่าไอศกรีมนั้นเต็มไปด้วยไขมันจากนม เมื่อรับประทานในปริมาณมากจึงส่งผลให้เกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรงไม่แพ้เนื้อสัตว์ติดมัน เพราะฉะนั้นช่วงมีประจำเดือนก็อดใจงดรับประทานไอศกรีมไปก่อนจะดีที่สุด
อาการปวดท้องประจำเดือนเป็นอาการปวดที่สร้างความเจ็บปวดทรมานให้กับผู้หญิงได้เป็นอย่างมาก อีกทั้งยังสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุซึ่งไม่ควรละเลยทั้งสิ้น โดยหากมีอาการปวดท้องประจำเดือนอย่างรุนแรง ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน และบรรเทาอาการปวดด้วยวิธีที่กล่าวมาข้างต้น ก็จะช่วยลดอาการปวดท้องประจำเดือนให้ทุเลาลงได้ หรือบางครั้งอาการปวดประจำเดือนมาก ๆ ก็อาจเป็นสัญญาณของอาการผิดปกติของมดลูกด้วยก็เป็นได้ และการไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุก็จะทำให้รักษาได้ทัน
ดังนั้น หากมีอาการปวดมากผิดปกติบ่อย ๆ ก็ยิ่งไม่ควรนิ่งนอนใจเช่นกัน และอย่าลืมหลีกเลี่ยงอาหารต้องห้าม เพราะนั่นอาจทำให้อาการปวดท้องประจำเดือนรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิมได้ด้วย หากดูแลสุขภาพให้ดีดังคำแนะนำที่กล่าวมา เชื่อว่าอาการปวดท้องประจำเดือนย่อมบรรเทาให้ดีขึ้นได้อย่างไม่ต้องเป็นกังวลอีกต่อไป

ธรรมชาติบำบัดสำหรับอาการปวดประจำเดือน

สำหรับผู้หญิงบางคนพบว่าการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตบางประการและการทำธรรมชาติบำบัดจะช่วยลดอาการปวดประจำเดือนได้
การออกกำลังกาย สำหรับอาการปวดไม่ค่อยรุนแรง การออกกำลังกายสามารถช่วยคุณได้
การออกกำลังกายแบบแอโรบิก เช่น การเดิน วิ่งเหยาะ ๆ ปั่นจักรยาน และว่ายน้ำ จะทำให้สมองหลั่งสารเคมีที่ชื่อ Endorphins เพื่อช่วยลดอาการปวดประจำเดือน
การใช้ความร้อน การได้อาบน้ำอุ่นหรือประคบท้องน้อยด้วยขวดน้ำร้อนหรือกระเป๋าน้ำร้อนจะช่วยให้อาการปวดประจำเดือนลดลงได้ ซึ่งวิธีนี้เป็นที่นิยมสำหรับสาว ๆ ที่มีอาการปวดประจำเดือน
การนวด ฝึกทำการนวดเบา ๆ วน ๆ รอบ ๆ ท้องน้อยของคุณหรือให้คนอื่นช่วยนวดให้
การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียม จากงานวิจัยพบว่าอาหารเสริมประเภทแคลเซียมสามารถช่วยบรรเทาอาการไม่สบายเนื้อไม่สบายตัวจากอาการปวดประเดือนและอาการอื่น ๆ ที่แสดงทางอารมณ์ก่อนการมีประจำเดือนได้
สุคนธบำบัด ในการศึกษาขนาดเล็กชิ้นหนึ่ง การใช้สุคนธบำบัดที่มีกลิ่นของดอกกุหลาบ ลาเวนเดอร์ หรือน้ำมันหอมระเหยดอกเสจแล้วทาลงบนผิวของท้องน้อยจะสามารถบรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การฝังเข็ม จากการศึกษาพบว่าการฝังเข็มอาจจะช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้ เนื่องจากมีการทดสอบทางคลินิกที่ผู้ป่วยอาการปวดประจำเดือนชนิดรุนแรงและได้รับการฝังเข็มจำนวน 15 ครั้งในระยะเวลา 3 เดือน พบว่ามีอาการปวดประจำเดือนน้อยลงเมื่อเทียบกับผู้หญิงที่ไม่ได้รับการฝังเข็ม
ขอบคุณข้อมูลจาก www.honestdocs.com

ไม่มีความคิดเห็น:

สูตรน้ำเต้าหู้งาดำ

Translate